วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ติดรถวีลแชร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะดูแลตัวเองได้ จำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา เพราะฉะนั้นวิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผลการรักษาทั้งทางร่างกาย และการรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย
โดยปกติแล้วปัญหาหลักๆของผู้ป่วยติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์คือ ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นหลัก และสิ่งที่เราพูดถึงกันบ่อยที่สุดคือปัญหาของการเกิดแผลกดทับ แม้ว่าจะมีเตียงผู้ป่วยที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยเฉพาะแต่การนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานานๆ ก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ได้100 เปอร์เซ็นต์ นอกเสียจากว่า เราจะมีวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีกว่า
โดยปกติ แล้วปัญหาหลักของผู้ป่วยติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์คือ การนอนในท่าเดิมนานๆ เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการเสียดสี หรือมีแรงกดทับเป็นเวลานานๆจนก่อให้เกิดเป็นแผลกดทับได้ แต่ถ้าพบว่า เปลี่ยนท่านอนแล้ว รอยแดงๆบนผิวหนังไม่หายไปภายใน 30 นาที ก็อาจปรับเวลาในการเปลี่ยนท่านอนในระยะเวลาสั้นขึ้น จะช่วยให้ปัญหาแผลกดทับเกิดขึ้นได้น้อยลงมากทีเดียว และควรจัดสรีระของร่างกายให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด เช่น การจัดท่านอนตะแคง ควรให้บริเวณสะโพก เข่า และข้อเท้า ทำมุมพอเหมาะ ไม่งอมากเกินไป และไม่ควรเหยียดตึงเกินไป และควรมีหมอนใบเล็กๆรองบริเวณกระดุกที่สัมผัสกับที่นอนโดยตรง เพื่อลดแรงกด ถ้านอนหงาย ก็ให้ใช้หมอนรองใต้น่อง เพื่อให้เท้าลอยขึ้นมาเหนือพื้น นอกจากนี้เรายังต้องจัดท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นเพื่อป้อนอาหาร หลังจากนั้น 30 นาที ก็ให้ปรับศีรษะลงในท่าที่สูงประมาณ 30 องศา ซึ่งเป็นท่าปกติ
แต่ในกรณีที่เรามีเวลามากพอ การเปลี่ยนอิริยาบทให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง ด้วยการเปลี่ยนมานั่งรถวีลแชร์ เพื่อ รับประทานอาหาร หรือเพื่อพาออกไปสูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอกห้อง ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด เพราะสิ่งที่เราจะได้รับไม่ใช่เพียงแค่การเปลี่ยนอิริยาบท เพื่อป้องกันแผลกดทับเท่านั้น แต่สิ่งที่เราจะได้เพิ่มมาอีกคือ สุขภาพจิตของผู้ป่วยที่ดีขึ้น การได้พาผู้ป่วยออกไปสูดอากาศภายนอกโดยนั่งรถวีลแชร์ ได้เจอกับสายลมเย็นๆเอื่อยๆในช่วงเช้าตรู่ และช่วงเย็น การได้นั่งทรงตัว ในท่าที่เหมาะสม จะช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกสบาย การได้เห็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป การได้ยินเสียงกิจกรรมภายนอก ผู้คนพูดคุย เสียงเด็กหัวเราะ จะชวยให้ประสาทการรับรู้ของผู้ป่วยถูกกระตุ้น เป็นการฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายได้อย่างดีทีเดียว
หรือบางครอบครัวที่มีความพร้อมอาจพาออกไปเที่ยวในสถานที่อื่นๆบ้าง เพื่อให้ผู้ป่วยได้เห็นภาพความสวยงามของธรรมชาติ ใบไม้ใบหญ้า อาการที่สดชื่น แต่การนั่งรถวีลแชร์นานๆในระหว่างเดินทาง ไม่ควรจัดท่าให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งนานเกิน 1 ชั่วโมง อาจจะต้องเลือกใช้รถเข็นไฟฟ้าที่ปรับ เบาะทั้งเบาะรองหลัง และเบาะที่นั่งได้ เพื่อให้สามารถผู้ป่วยเอนตัวได้มากขึ้น อาจอยู่ในท่ากึ่งนั่ง กึ่งนอน และต้องมีอุปกรณ์เสริมเป็นหมอนรองคองเพื่อปรับเป็นท่านอนซึ่งเป็นท่าที่สบายที่สุดสำหรับผู้ป่วย เพื่อให้หายใจสะดวก ไม่เหนื่อย และควรหาเบาะมารองก้น หรือเบาะเจล ซึ่งอาจหนุนให้เอียงเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นการถ่ายน้ำหนักตัวของผู้ป่วย หรืออาจใช้หมอนที่มีช่องตรงกลาง เพื่อยกให้ก้นลอยขึ้นจากพื้นทุกๆ30นาที หรือ เลือกใช้ รถเข็นไฟฟ้าที่มีการปรับเบาะได้หลายลักษณะเพื่อลดแรงกดได้ดีกว่า
ทุกครั้งที่อาบน้ำ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมสำเร็จรูป ควรซับตัวให้แห้ง ทาโลชั่น วาสลีน เพื่อป้องกันการเสียดสี และถ้าเห็นรอยแดงจากการกดทับ อาจทายาป้องกันการอักเสบร่วมด้วย ไม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่หนาอับ และชื้น ให้แก่ผู้ป่วย เพราะจะทำให้เกิดโรคผิวหนังได้ง่าย แต่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่เนื้อบาง ไม่มีตะขอ หรือตะเข็บที่แข็ง อันจะก่อให้เกิดรอยกด เกิดการเสียดสี และอาจเป็นแผลได้ง่าย ควรเป็นเนื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี
นอกจากนี้ เรายังต้องดูแลเรื่องอาหารที่มีัประโยชน์ ย่อยง่าย ดูดซึมได้ดี และต้องไม่ลืมการให้น้ำผู้ป่วยอย่างเพียงพอ รวมไปถึงการให้รับประทานผักผลไม้ เพื่อเพิ่มไฟเบอร์ที่จะช่วยในการขับถ่าย ซึ่งโดยปกติ แล้ว ผู้ป่วยติดเตียงมักเจอปัญหาของอาการท้องผูกร่วมด้วย ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยการจัดโภชนาการที่เหมาะสมให้แก่ผู้ป่วย
การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนอนติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์ หรือการปรับเปลี่ยนท่านอนท่านั่ง เราควรใช้วิธีการยก ห้ามลาก เพราะฉะนั้นถ้าผู้ดูแลเป็นคนรูปร่างเล็กกว่าผู้ป่วย ไม่ควรทำคนเดียว ควรมีผู้ช่วย และจะต้องทำด้วยความระมัดระวังให้มากที่สุดด้วย
คลิ๊กเพื่อดูรถเข็นวีแชร์ Synergy รุ่นต่างๆ
สอบถามสินค้าต่างๆของ Synergy ได้ทางไลน์ : @synergythailand