วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ติดรถวีลแชร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะดูแลตัวเองได้ จำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา เพราะฉะนั้นวิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผลการรักษาทั้งทางร่างกาย และการรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย
โดยปกติแล้วปัญหาหลักๆของผู้ป่วยติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์คือ ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นหลัก และสิ่งที่เราพูดถึงกันบ่อยที่สุดคือปัญหาของการเกิดแผลกดทับ แม้ว่าจะมีเตียงผู้ป่วยที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยเฉพาะแต่การนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานานๆ ก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ได้100 เปอร์เซ็นต์ นอกเสียจากว่า เราจะมีวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีกว่า
โดยปกติ แล้วปัญหาหลักของผู้ป่วยติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์คือ การนอนในท่าเดิมนานๆ เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการเสียดสีกับเตียงหรือรถวีลแชร์ หรือมีแรงกดทับเป็นเวลานานๆจนก่อให้เกิดเป็นแผลกดทับได้ แต่ถ้าพบว่า เปลี่ยนท่านอนแล้ว รอยแดงๆบนผิวหนังไม่หายไปภายใน 30 นาที ก็อาจปรับเวลาในการเปลี่ยนท่านอนในระยะเวลาสั้นขึ้น จะช่วยให้ปัญหาแผลกดทับเกิดขึ้นได้น้อยลงมากทีเดียว และควรจัดสรีระของร่างกายให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด เช่น การจัดท่านอนตะแคง ควรให้บริเวณสะโพก เข่า และข้อเท้า ทำมุมพอเหมาะ ไม่งอมากเกินไป และไม่ควรเหยียดตึงเกินไป และควรมีหมอนใบเล็กๆรองบริเวณกระดุกที่สัมผัสกับที่นอนโดยตรง เพื่อลดแรงกด ถ้านอนหงาย ก็ให้ใช้หมอนรองใต้น่อง เพื่อให้เท้าลอยขึ้นมาเหนือพื้น นอกจากนี้เรายังต้องจัดท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นเพื่อป้อนอาหาร หลังจากนั้น 30 นาที ก็ให้ปรับศีรษะลงในท่าที่สูงประมาณ 30 องศา ซึ่งเป็นท่าปกติ